เชื่อว่าคนที่เลี้ยงสุนัขทุกคนคงไม่อยากจะให้สุนัขของตัวเองมีพฤติกรรมก้าวร้าว ไม่มั่นคงใช่ไหมล่ะคะ แล้วรู้หรือเปล่าคะว่า เจ้าของสุนัขเองนี่แหละที่อาจจะเป็นคนทำให้สุนัขมีพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง โดยที่หลายๆครั้งเจ้าของสุนัขเองก็ไม่รู้ตัว วันนี้ครูโจอี้มีเกร็ดวามรู้เกี่ยวกับ 7 พฤติกรรมที่กระตุ้นพฤติกรรมก้าวร้าวที่เจ้าของสุนัขมักเผลอทำบ่อยๆมาฝาก ไปดูกันดีกว่าว่าจะมีพฤติกรรมอะไรบ้าง
1.เรียกชื่อสุนัขณะผิดจังหวะ
พฤติกรรมยอดฮิตอันดับแรกที่เจ้าของสุนัขมักเผลอทำบ่อยๆนั่นก็คือ การเรียกชื่อสุนัขในขณะที่เขากำลังทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เช่น สุนัขตัวใหญ่กำลังจะกัดสุนัขตัวเล็กที่เลี้ยงไว้ด้วยกัน และคุณบังเอิญเรียกชื่อสุนัขเพื่อต้องการให้สุนัขตัวใหญ่หยุดทำพฤติกรรมก้าวร้าวนั้น แต่รู้หรือไม่คะว่า การเรียกชื่อสุนัขในสถานการณ์แบบนี้เปรียบเสมือนการสนับสนุน กระตุ้นให้สุนัขยิ่งทำพฤติกรรมนั้นมากยิ่งขึ้นและเร็วขึ้น เพราะ การเรียกชื่อ = Positive ดังนั้น เราควรจะเรียกชื่อสุนัขก็ต่อเมื่อเขาเป็นเด็กดี น่ารัก เชื่อฟังคำสั่ง หรือทำในสิ่งที่เราชอบ ไม่ควรเรียกชื่อสุนัขเวลาที่เขาทำสิ่งที่ผิดหรือเราไม่ชอบนะคะ ใครที่เผลอทำบ่อยๆอย่าลืมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกันด้วยนะคะ
2.การใช้โทนเสียงที่ไม่ถูกต้องกับสุนัข
พฤติกรรมที่อาจจะส่งผลให้สุนัขมีพฤติกรรมก้าวร้าวอันดับที่ 2 นั่นก็คือการใช้โทนเสียงที่ไม่ถูกต้องของเจ้าของนี่เองค่ะ เช่น เวลาที่คุณต้องการห้ามสุนัขไม่ให้ทำในสิ่งที่คุณไม่ชอบ คุณอาจจะใช้โทนเสียงสูง หรือการตะโกนแบบตวาด ซึ่งจริงๆแล้วการใช้เสียงสูงหรือเสียงโทนอื่นๆจะทำให้สุนัขรู้สึกสับสน หรือตื่นเต้น ส่งผลกับความมั่นคงทางอารมณ์ของสุนัข ควรใช้โทนเสียงแบบหนักแน่น มั่นคง เพื่อให้สุนัขรับรู้ถึงความต้องการของคุณ เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นสามารถรับชมการใช้โทนเสียงจากคลิปวีดีโอใน Youtube
3. การใช้ภาษากายกับสุนัขแบบผิดๆ
ถ้าจะให้เห็นภาพมากขึ้นก็คงจะต้องนึกถึงพฤติกรรมการกระโจนของสุนัขเวลาที่เจอเจ้าของ เจ้าของสุนัขบางคนอาจจะใช้วิธีผลักสุนัข ซึ่งการทำแบบนี้อาจจะทำให้สุนัขเข้าใจผิดคิดว่าคุณกำลังเล่นด้วย จึงไม่หยุดที่กระโจน และกระโจนใส่ทุกครั้งที่เจอ หรือหากคุณผลักแรงเกินไป อาจจะทำให้สุนัขกัดคุณได้ สิ่งที่ควรทำคือการยึดพื้นที่ คือไม่ควรถอยหนี ยืนเฉยๆ และบอกให้สุนัขหยุดด้วยน้ำเสียงมั่นคง และค่อยๆเดินผ่านสุนัขไปเพื่อยึดพื้นที่ เพราะเมื่อคุณถอยหนีสุนัขจะยิ่งได้ใจ เนื่องจากการกระโจนเป็นการขยายอนาเขตของสุนัข หรือ การกอดสุนัขในกรณีที่มีสุนัขตัวอื่นเดินผ่าน หากคุณกำลังอุ้มสุนัขอยู่ และมีสุนัขตัวอื่นเดินผ่านไปโดยที่สุนัขของคุณกำลังเก่าสุนัขที่เดินผ่านไปนั้น การกอดของคุณจะทำให้สุนัขรู้สึกว่า การเห่านั้นถูกต้องแล้ว เพราะคุณกอดเขา เท่ากับคุณพอใจในสิ่งที่สุนัขของคุณทำนั่นเอง4.สร้างลำดับจ่าฝูงสุนัขที่ไม่ถูกต้อง
ในกรณีที่ในบ้านมีคนและสุนัขอยู่ร่วมกัน หลายๆคนคิดว่าการจัดลำดับจ่าฝูงนั้น จะต้องทำเฉพาะสุนัขเท่านั้น บางคนเลือกให้สุนัขตัวที่มาก่อนเป็นจ่าฝูง บางคนเลือกสุนัขตัวที่แข็งแรงที่สุดเป็นจ่าฝูง หรือบางคนเลือกสุนัขที่ตัวใหญ่ที่สุดเป็นจ่าฝูง ฯลฯ แต่จริงๆแล้วการจัดลำดับจ่าฝูงจำเป็นจะต้องมีคนที่ต้องเป็นจ่าฝูงเพื่อควบคุมฝูงสุนัขทั้งหมด โดยสุนัขทั้งหมดจะเป็นลูกฝูงที่มีลำดับชั้นเท่าเทียมกัน หากมีลำดับชั้นที่ชัดเจนในลูกฝูงจะทำให้สุนัขบางตัวรังแกตัวอื่นๆได้ ลำดับของสุนัขควรจะเกิดขึ้นเมื่อสุนัขอยู่ด้วยกันเองเท่านั้น
5. การใช้อารมณ์กับสุนัข
เจ้าของสุนัขหรือเพื่อนๆหลายคนจะมีอารมณ์หงุดหงิด สับสน ไม่ผ่อนคลาย ไม่มีความอดทนเมื่อต้องฝึกสุนัข ทำให้เผลอใช้อารมณ์กับสุนัข ซึ่งก็จะทำให้สุนัขตอบกลับมาด้วยอารมณ์เช่นกัน จะรู้ได้อย่างไรว่าเจ้าของมีอารมณ์หรือไม่ผ่อนคลาย? ลองสังเกตุกล้ามเนื้อของเราดูได้เลยค่ะ ถ้ากล้ามเนื้อของเรามีอาการเกร็งหรือตึง แสดงว่าเรายังไม่ผ่อนคลายจริงๆ เพราะฉะนั้นก่อนการฝึกสุนัข เจ้าของสุนัขควรผ่อนคลายจริงๆก่อนที่จะเริ่มการฝึกนะคะ
6. การ ขอของ/แย่งของ จากสุนัข
การขอของจากสุนัขหลายๆคนจะใช้วิธีดึงของจากป้างสุนัข เหมือนการแย่งกันไปแย่งกันมา การทำแบบนี้ถือเป็นการปลูกกฝังพฤติกรรมก้าวร้าวให้กับสุนัข เนื่องจากสุนัขจะมองเป็นการ “แย่ง” ไม่ใช่ “ขอ” ทำให้สุนัขตอบสนองกลับมาด้วยความหงุดหงิด โมโห หรือกัดได้ เพราะฉะนั้นการขอของจากสุนัขจะต้องขอด้วยมารยาท โดยไม่ดึงของจากปากสุนัขนะคะ
7. จัดที่นอนให้สุนัขผิดที่
เจ้าของสุนัขบางคนเปิดไฟให้สุนัขเพื่อให้สุนัขมองเห็นในเวลากลางคืน หรือบางคนกลัวสุนัขจะเหงา จึงเลือกจัดที่นอนสุนัขในบริเวณที่สามารถมองเห็นบรรยากาศรอบๆได้เต็มที่ ซึ่งจริงๆแล้วการจัดที่นอนแบบนี้จะทำให้สุนัขนอนไม่เต็มอิ่มเนื่องจากถูกรบกวนด้วยแสงและสิ่งเร้าต่างๆจากสภาพแวดล้อมรอบนอก เพราะสุนัขเป็นสัตว์ที่อยากรู้อยากเห็น ส่งผลให้สุนัขนอนหลับได้แค่ช่วงสั้น นำไปสู่พฤติกรรมอารมณ์ไม่มั่นคงจนกลายเป็นสุนัขขี้หงุดหงิด หวงอาณาเขต ชอบเห่า ดังนั้นควรเลือกจัดที่นอนให้สุนัขโดยที่ไม่ควรมีสิ่งรบกวน ตรวจสอบให้มั่นใจว่าบริเวณที่เลือกจะทำให้สุนัข สบาย ผ่อนคลาย ได้หลับจริง และควรจัดตารางการนอนให้สุนัขเป็นเวลานะคะ
เป็นยังไงงกันบ้างคะ ใครเผลอทำพฤติกรรมไหนกันบ้าง อย่าลืมกลับไปสังเกตุและปรับเปลี่ยนกันนะคะ ครูโจอี้หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เจ้าของสุนัขและสุนัขทุกตัวสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข สำหรับบทความต่อไปครูโจอี้จะมีเกร็ดความรู้เรื่องอะไรมาฝาก อย่าลืมแวะเข้ามาติดตามกันนะคะ