ทำไมสุนัขบางตัวชอบงับมือ งับเท้า หรือเล่นแรงๆ?

สุนัขเล่นแรง

เพื่อนๆเคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมสุนัขบางตัวชอบกระโจนหรือกระโดดเข้าใส่เราแบบแรงๆ หรือแม้กระทั่งเวลาที่เขาเล่นกับสุนัขด้วยกันก็มักจะเล่นกันแบบแรงๆเหมือนกัน วันนี้ครูโจอี้จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจกับปัญหานี้กันค่ะ ว่าแต่สุนัขที่ชอบเล่นแรง ๆ มีสาเหตุมาจากอะไร และเราจะป้องกัน หรือแก้ไขปัญหานี้ได้ยังไงบ้าง ไปอ่านต่อกันเลยค่ะ

สาเหตุที่ทำให้สุนัขมีพฤติกรรมที่ไวต่อสิ่งเร้า หรือ ชอบเล่นแบบแรงๆมักเกิดจากสาเหตุดังนี้

1. พลังงานที่มากและต้องการระบาย

สุนัขบางสายพันธุ์ เช่น พันธุ์ที่มีพลังงานสูงอย่างเช่น สายพันธุ์เทอร์เรียร์ หรือ สุนัขล่าเนื้อ จะมีความต้องการใช้พลังงานมากกว่าปกติ การเล่นแรง ๆ เป็นการระบายพลังงานที่สะสมไว้ ซึ่งถ้าไม่ได้รับการออกกำลังกายเพียงพอ สุนัขเหล่านี้อาจจะแสดงออกด้วยการเล่นอย่างรุนแรงเพื่อปลดปล่อยพลังงานที่เกิน

2. สัญชาตญาณนักล่า

ในธรรมชาติ สุนัขเป็นสัตว์นักล่า ดังนั้นการเล่นที่แรงอาจเป็นการเลียนแบบพฤติกรรมการล่าหรือการฝึกทักษะการต่อสู้ แม้ว่าจะเป็นเพียงการเล่นกับมนุษย์หรือสัตว์อื่น สุนัขบางตัวอาจแสดงออกด้วยการกัดเบา ๆ การดึง การกระโดด หรือวิ่งด้วยความเร็วสูง ซึ่งเป็นการแสดงสัญชาตญาณของนักล่า

3. การกระตุ้นและความตื่นเต้น

เมื่อสุนัขรู้สึกตื่นเต้นหรือตอบสนองต่อสิ่งเร้าบางอย่าง เช่น เสียงของเล่น การเล่นที่มีการแข่งขัน หรือการเล่นกับสุนัขตัวอื่น มันอาจแสดงพฤติกรรมที่ดูเหมือนก้าวร้าวหรือแรงเกินไป เพราะถูกกระตุ้นให้รู้สึกมีพลังมากขึ้น

4. การเรียนรู้จากประสบการณ์

สุนัขบางตัวอาจเคยเล่นแรงกับมนุษย์หรือสุนัขตัวอื่น และไม่ถูกสอนให้เข้าใจความแตกต่างระหว่างการเล่นที่เหมาะสมกับการเล่นที่เกินเลย หากไม่มีการฝึกฝนหรือสอนให้รู้ขีดจำกัด พฤติกรรมเล่นแรงนี้อาจกลายเป็นนิสัย

5. สภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดู

การที่สุนัขถูกเลี้ยงดูในสภาพแวดล้อมที่เปิดโอกาสให้เล่นอย่างอิสระ เช่น มีพื้นที่กว้างขวางสำหรับวิ่ง หรือเจ้าของที่เล่นด้วยบ่อย ๆ อาจทำให้สุนัขเข้าใจว่าเป็นเรื่องปกติที่จะเล่นอย่างมีพลัง ซึ่งบางครั้งอาจแรงเกินไปสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคย

6. ความเครียดหรือความวิตกกังวล

สุนัขบางตัวอาจแสดงพฤติกรรมเล่นแรงเพื่อตอบสนองต่อความเครียด ความเบื่อหน่าย หรือความวิตกกังวล การเล่นแบบนี้อาจเป็นการระบายอารมณ์ในรูปแบบหนึ่ง

วิธีการจัดการพฤติกรรมการเล่นแรง

  • ฝึกคำสั่งหยุดเล่น: การฝึกคำสั่งพื้นฐาน เช่น “พอ” หรือ “หยุด” จะช่วยให้สุนัขเข้าใจว่าควรหยุดเล่นเมื่อใด
  • การออกกำลังกายที่เพียงพอ: ให้สุนัขได้ใช้พลังงานในกิจกรรมที่เหมาะสม เช่น การวิ่ง การเดิน หรือการเล่นของเล่นที่ช่วยระบายพลังงาน
  • สอนการเล่นที่เหมาะสม: เจ้าของควรแสดงออกอย่างชัดเจนว่าการเล่นที่แรงเกินไปไม่เป็นที่ยอมรับ โดยอาจหยุดเล่นทันทีเมื่อสุนัขเล่นแรงเกินไป เพื่อให้สุนัขเข้าใจถึงขอบเขต

การเล่นแรง ๆ ของสุนัขจึงเป็นผลมาจากหลายปัจจัย แต่สามารถจัดการได้หากเข้าใจและให้คำแนะนำที่เหมาะสม สำหรับใครที่อยากปรับพฤติกรรมของสุนัข อย่าลืมคิดถึง Jojo House Dog Master นะคะ เพราะ Jojo House ไม่เพียงแค่ฝึกสุนัขเท่านั้น แต่เรายังฝึกเจ้าของสุนัขให้มีความเป็นจ่าฝูงที่สามารถดูแลสุนัขให้อยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นระเบียบอีกด้วย และ Jojo House Dog Master เป็น “เจ้าแรกในประเทศไทย” ที่ฝึกจิตวิทยาสุนัข และ ปรับฮวงจุ้ยที่บ้านให้กับสุนัขมาอย่างยาวนาน

Pin It on Pinterest